หน้าแรกติดต่อเราข่าวสารบทความมาตรฐานวัสดุประโยชน์ผลงานต่างๆ
      เครื่องคิดเลขแจ้งการชำระเงินรายการจัดส่งสินค้า  สินค้าในตระกร้า
หมวดหมู่สินค้า
สมัครสมาชิก
อีเมล์ : 
รหัสผ่าน : 
 
เว็บลิงค์


การเล่นและการลงมือทำพัฒนาทักษะสมองEFของเด็กได้อย่างไร

การเล่นและการลงมือทำพัฒนาทักษะสมองEFของเด็กได้อย่างไร มีหลายครอบครัวซักถามครูปุ๊กเข้ามาว่าการที่ลูกได้เล่นของเล่นหรือบอร์ดเกมเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะสมอง EF อย่างไร? วันนี้ ครูปุ๊กจะมาอธิบายให้เข้าใจกันแบบง่ายๆนะคะ #EFคืออะไร EF หรือ Executive Functions เป็นหน้าที่ของสมองส่วนหน้า (อยู่หลังกระโหลกศีรษะประมาณ 1 นิ้ว) สมองส่วนนี้ทำหน้าที่ต่อมนุษย์คนหนึ่งให้รู้จักควบคุมตัวเองให้จดจ่อกับสิ่งที่ทำอยู่ ควบคุมอารมณ์ให้เป็นไปอย่างพอดิบพอดี มีไหวพริบในการแก้ปัญหา ยับยั้งชั่งใจก่อนลงมือทำ มีความจำเพื่อนำไปใช้งานได้ต่อไป ทำให้เราจัดลำดับและวางแผนเป็น อะไรที่เคยผิดแล้วจะระวังตัวไม่ให้ผิดซ้ำ และมีความพากเพียรไปสู่เป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ เป็นต้น #EFสำคัญกับเด็กคนหนึ่งอย่างไร EF คือศูนย์รวมของลักษณะคนที่ประสบความสำเร็จ และ EF ไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปได้ด้วยดีตามธรรมชาติ EF ที่มีคุณภาพในเด็กคนหนึ่งเกิดขึ้นจากตัวตนของเด็กเองและการเลี้ยงดูในครอบครัวค่ะ เด็กที่ได้รับการฝึกฝนทักษะ EF อย่างสม่ำเสมอด้วยวิธีที่ถูกทางจะมีโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตสูง เพราะ เค้าจะควบคุมตัวเองได้ ยับยั้งตัวเองไม่ให้ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง มีความเพียรพยายาม มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วางแผน และแก้ปัญหา ทำให้จัดการกับชีวิตได้อย่างราบรื่น และมีความภาคภูมิใจในตนเอง #ของเล่นและบอร์ดเกมใช้พัฒนาทักษะสมองEFของเด็กได้อย่างไร 1. พัฒนาทักษะความจำเพื่อนำไปใช้งานได้ดี (Working Memory) เด็กที่มีระดับสติปัญญาดีมักมีทักษะการจำที่ดี working Memory หรือทักษะความจำเพื่อนำไปใช้งานนี้ หมายถึง ความสามารถในการดึงข้อมูลที่เป็นประสบการณ์ออกมาใช้ประโยชน์ได้เมื่อเจอสถานการณ์ที่เชื่อมโยงกับข้อมูลนั้นๆ บอร์ดเกมหลายรูปแบบฝึก Working Memory ได้ดี อย่างน้อยเด็กต้องจำกติกาหลักๆให้ได้ บางเกมออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะความจำโดยเฉพาะ บอร์ดเกมจึงเป็นเครื่องมือที่พัฒนาทักษะการนำไปใช้งานได้ดี 2. พัฒนาทักษะการคิดไตร่ตรอง ยับยั้งชั่งใจ (Inhibitory Control) ได้ดี ความยับยั้งชั่งใจ คิดไตร่ตรองก่อนลงมือทำเป็นคุณลักษณะที่จำเป็นมากสำหรับคนที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตต่อไป ไม่ด่วนได้ ด่วนทำ ด่วนสรุปโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย ความเสี่ยงของตนเอง การเล่นบอร์ดเกมได้ดีต้องอาศัยการคิดไตร่ตรอง และยับยั้งชั่งใจอยู่มากเพื่อบรรลุเป้าหมายของเกม เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจมักเดือดร้อนจากการกระทำของตนเอง และทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน 3. พัฒนาทักษะการยืดหยุ่นทางความคิด (Shift Cognitive Flexibility) ฝึกให้เด็กได้คิดนอกกรอบ มีไหวพริบ มีกระบวนการให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่หลากหลาย ความยืดหยุ่นทางความคิด มีไหวพริบ คิดนอกกรอบช่วยให้เด็กมีทักษะการแก้ปัญหาที่ดีนำพาตัวเองได้รอดจากสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดต่างๆ 4. พัฒนาทักษะความใส่ใจจดจ่อ (Focus / Attention) ได้ดี ความจดจ่อ คือ ความสามารถในการควบคุมตัวเองให้ไม่วอกแวก แม้จะมีสิ่งมารบกวนทำให้เด็กทำงานได้สำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม บอร์ดเกมมีส่วนช่วยเป็นอย่างมากที่จะพัฒนาให้เด็กเกิดความใส่ใจจดจ่อที่ดีได้ 5. พัฒนาทักษะการควบคุมอารมณ์ (Emotional Control) ได้ดี กล่าวคือ เมื่อเล่นด้วยกันเป็นกลุ่มแล้วย่อมมีผู้ชนะและไม่ชนะ เด็กบางคนควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้เมื่อตนเองไม่ชนะ หลายคนโกรธผู้เล่นคนอื่น ยิ่งกว่านั้นคือพังถล่มบอร์ดเกม ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ และแสดงออกอย่างเหมาะสมจะเชื่อมโยงไปจนเป็นผู้ใหญ่ การฝึกให้เล่นบอร์ดเกมและพบเจอกับอารมณ์ที่หลากหลายทั้งผิดหวัง สมหวัง ทำให้เด็กเรียนรู้และจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ดี 6. พัฒนาทักษะการประเมินตัวเอง (Self-Monitoring) ได้ดี การประเมินตัวเอง หมายถึง การรู้ว่าตนเองมีจุดผิดพลาดหรือข้อบกพร่องใดบ้างจึงทำให้ไม่บรรลุเป้าหมายของสิ่งที่ทำอยู่ เมื่อเด็กได้เล่นเกมอย่างจดจ่อจะทำให้ประเมินตัวเองได้ว่า "เราจะไม่ผิดซ้ำๆในเรื่องเดิมๆอีก" เพื่อพัฒนาตนเองไปสู่เป้าหมายของเกมได้ และเด็กที่มีทักษะชีวิตที่ดีจะนำทักษะการประเมินตนเองนี้มาใช้กับชีวิตประจำวัน การเรียน และการทำงานต่อไปได้ดี 7. พัฒนาทักษะการริเริ่มและลงมือทำ (Initiating) ได้ดี การริเริ่มและลงมือทำครอบคลุมถึงความกล้าที่ทำตามที่ตนเองได้วางแผนไว้ เด็กบางคนขาดความมั่นใจ ไม่กล้าตัดสินใจ แต่ในสถานการณ์ของบอร์ดเกมจะต้องตัดสินใจ เพราะ มักมีเงื่อนไขเรื่องเวลาเข้ามากำหนดรวมถึงฝึกทักษะทางสังคมได้ดี เพราะ ต้องรู้จักเกรงใจผู้อื่นที่รอเราอยู่ 8. พัฒนาทักษะการวางแผน และจัดระบบต่างๆ (Planning & Organizing) ได้ดี คุณลักษณะนี้ของเด็กสำคัญมาก ไม่มีใครประสบความสำเร็จโดยไม่มีการวางแผน เมื่อเด็กได้เล่นบอร์ดเกม เด็กจะได้รับการฝึกให้วางแผน รู้ว่าควรทำอะไรก่อน อะไรหลัง อะไรสำคัญที่สุดซึ่งสามารถพัฒนาไปสู่การเรียน การงาน และชีวิตประจำวันต่อไปได้ 9. พัฒนาทักษะการมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence) ได้ดี การมุ่งเป้าหมาย หมายถึง ความพากเพียรพยายาม วิริยะ อุตสาหะฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆเพื่อไปสู่เป้าหมายได้ ในการเล่นบอร์ดเกมใหม่ๆครั้งแรกๆเด็กอาจจะมีกลยุทธ์ในการคิดที่ไม่ดีนัก แต่เมื่อมีการนำกลับมาเล่นซ้ำ เด็กจะเรียนรู้กลยุทธ์ที่จะเล่นได้ดีมากขึ้น เรื่องนี้ช่วยยืนยันกับเด็กว่าเมื่อพยายาม ทำซ้ำอย่างไม่ท้อถอยแล้วเราจะทำได้ดีขึ้นๆเป็นลำดับและไปสู่จุดหมายที่ตั้งใจไว้ได้ ของเล่นและบอร์ดเกมจึงมีค่ามากกว่าการเป็นของเล่นประจำบ้านแต่ยังฝึกทักษะ EF ให้แก่เด็กทุกคนได้ นอกจากนั้น ยังพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวได้อย่างยิ่งยวด เพราะ ทุกเกมต้องอาศัยการพูดคุย ปฏิสัมพันธ์ด้วยกันทั้งหมดโดยไม่มีเทคโนโลยีหรือสื่อดิจิตอลใดๆเข้ามาแทรกแซงซึ่งเป็นการใช้เวลาคุณภาพในครอบครัวอย่างแท้จริง BY###ครูปุ๊ก

    ติดต่อเราถูกที่สุด 083-4549594 เครื่องเล่นสนาม ของเล่นพลาสติก
    1,858,989
    You are visitor no. 772,700  จำนวนผู้เยี่ยมชม : 1